วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558




นางสาวจิราวรรณ  ไชยมณี  ชื่อเล่น ยุ้ย
รหัสนักศึกษา 573410240105
สาขาวิชาการศึกษาพิเศษและการสอนภาษาไทย คณะครุศาสตร์ ชั้นปีที่ 1




พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์

พยัญชนะ
พยัญชนะไทยมี 44 รูป สามารถแบ่งตามฐานที่ใช้ในการออกเสียงเป็นวรรค ดังเช่นในภาษาบาลีและสันสกฤต พร้อมแสดงชื่อเรียกในปัจจุบัน
วรรค กะ- ไก่ ไข่ ขวด* ควาย คน* ระฆัง งู
วรรค จะ- จาน ฉิ่ง ช้าง โซ่ เฌอ หญิง
วรรค ฏะ- ชฎา ปฏัก ฐาน มณโฑ ผู้เฒ่า เณร
วรรค ตะ- เด็ก เต่า ถุง ทหาร ธง หนู
วรรค ปะ- ใบไม้ ปลา ผึ้ง ฝา พาน ฟัน สำเภา ม้า
เศษวรรค- ยักษ์ เรือ ลิง แหวน ศาลา ฤๅษี เสือ หีบ จุฬา

พยัญชนะไทยยังแบ่งออกเป็น 
หมู่ เรียกว่า ไตรยางศ์ ประกอบด้วยเนื่องจาก ฃ และ ฅ ปัจจุบันไม่พบการใช้งาน จึงอนุโลมใช้ ข และ ค แทนในการสะกด
  • อักษรสูง       11 ตัว ได้แก่ ข  ฃ  ฉ  ฐ  ถ  ผ  ฝ  ศ  ษ  ส  ห
  • อักษรกลาง   9 ตัว ได้แก่ ก  จ  ฎ  ฏ  ด  ต  บ  ป  อ
  • อักษรต่ำ       24 ตัว ได้แก่ ค  ฅ  ฆ  ง  ช  ซ  ฌ  ญ  ฑ  ฒ  ณ  ท  ธ  น  พ  ฟ  ภ  ม  ย  ร  ล  ว  ฬ  ฮ




สระ

สระในภาษาไทยมี 21 รูป ซึ่งรูปสระเหล่านี้จะนำไปประกอบเป็นรูปสระที่ใช้จริงอีกต่อหนึ่ง
หมายเหตุ : ที่แสดงข้างต้นเป็นสระเดี่ยว สระที่เหลือเป็นสระผสม เช่น เ-ะ ผสมจาก เ และ  ะ

วรรณยุกต์
วรรณยุกต์ในภาษาไทยมี รูป เสียง
คำทุกคำในภาษาไทยจะมีเสียงวรรณยุกต์เสมอ แม้ว่าจะไม่มีรูปวรรณยุกต์แสดงให้เห็นก็ตาม

รูปวรรณยุกต์
  •  ่ ไม้เอก
  •  ้ ไม้โท
  •  ๊ ไม้ตรี
  •  ๋ ไม้จัตวา                                                  

เสียงวรรณยุกต์
  • เสียงสามัญ
  • เสียงเอก
  • เสียงโท
  • เสียงตรี
  • เสียงจัตวา





การแจกลูกการสะกดคำ 

การอ่านแจกลูกและสะกดคำ เป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานของการนำ เสียงพยัญชนะต้น
สระ วรรณยุกต์ และเสียงตัวสะกดมาประสมเสียงกัน ทำให้ออกเสียงคำต่างๆ ที่มีความหมาย
ในภาษาไทย การแจกลูกและการสะกดคำบางครั้งเรียกรวมกันว่า “การแจกลูกสะกดคำ” เพราะในการสอน แจกลูกสะกดคำจะดำเนินไปด้วยกันอย่างกลมกลืน เพื่อให้นักเรียนได้หลักเกณฑ์ทางภาษาทั้งการอ่านและการเขียนไปพร้อมกัน

การแจกลูก

การแจกลูกมีความหมายมี ๒ นัย ดังนี้
     นัยแรก หมายถึง การแจกลูกในมาตราตัวสะกดแม่ ก กา กง กน กม เกย เกอว กก กด และกบ
การแจกลูกจะเริ่มจากการจำและออกเสียงพยัญชนะและสระให้ได้ก่อน จากนั้นจะเริ่มแจกลูกในมาตราแม่ ก กา (ไม่มีเสียงสะกด) จะใช้การสะกดคำไปทีละคำไล่ไปตามลำดับของสระ แล้วจึงอ่านโดยไม่สะกดคำ เรียกว่าแจกลูกสะกดคำ
     นัยที่สอง หมายถึง การเทียบเสียง เป็นการแจกลูกวิธีหนึ่ง เมื่ออ่านคำได้แล้วให้นำรูปคำมาแจกลูก
โดยการเปลี่ยนพยัญชนะต้นหรือพยัญชนะท้าย เช่น

      บ้าน สูตรของคำคือ -้า น เมื่อเปลี่ยนพยัญชนะต้น จะได้คำว่า ก้าน ป้าน ร้าน เป็นต้น

วิธีการเทียบเสียง วิธีนี้มีหลักการ คือ
๑. อ่านสระเสียงยาวก่อนสระเสียงสั้น
๒. เปลี่ยนพยัญชนะต้นและพยัญชนะท้าย
๓. นำคำที่อ่านมาจัดทำแผนภูมิการอ่าน เช่น


      เปลี่ยนพยัญชนะต้น   เช่น

                  กา              ตา           นา              มา
                  ดู                ปู             ถู                หู

      เปลี่ยนพยัญชนะท้าย   เช่น

                 คาง            คาน        คาย            คาว
                 วาง            วาน         วาย             วาว



         วิธีการอ่านจะไม่สะกดคำแต่ให้อ่านเป็นคำตามสูตรของคำ เช่น อ่าน กา สูตรของคำ คือ -า นำพยัญชนะมาเติมและอ่านเป็นคำ



การสะกดคำ

     การสะกดคำ หมายถึง การอ่านโดยนำเสียงพยัญชนะต้น สระ วรรณยุกต์ และตัวสะกดมาประสม
เป็นคำอ่าน
     การสะกดคำ มีวิธีการสะกดคำหลายวิธี ถ้าสะกดคำเพื่ออ่านจะสะกดคำตามเสียง ถ้าสะกดคำ

เพื่อเขียนจะสะกดคำตามรูป และการสะกดคำจะสะกดเฉพาะคำที่เป็นคำไทยและตัวสะกดตรงตามรูป


๑. วิธีการสะกดคำตามรูปคำ

                  กา             สะกดว่า             กอ-อา-กา
                  คาง           สะกดว่า             คอ-อา-งอ-คาง

                  ร้าน           สะกดว่า             รอ-อา-นอ-ราน-ไม้โท-ร้าน

๒. วิธีการสะกดคำโดยสะกดแม่ ก กา ก่อน แล้วจึงสะกดมาตราตัวสะกด

                  ทาง          สะกดว่า             ทอ-อา-ทา-ทา-งอ-ทาง

                  บ้าน          สะกดว่า             บอ-อา-บา-บา-นอ-บาน-บาน-โท-บ้าน


๓. วิธีสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด คำที่สะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดจะเป็น
คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ เช่น คำที่มาจากภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาเขมร ภาษาอังกฤษ เป็นต้น

วิธีการสอนอ่านและเขียนมีวิธีการ ดังนี้
           ๓.๑ ดูรูปคำและอ่านออกเสียงให้ถูกต้อง
           ๓.๒ จำรูปคำและรู้ความหมายของคำ
           ๓.๓ รู้หลักการสะกดคำ เช่น

                    แม่ กง          ใช้  ง สะกด
                    แม่ กน          ใช้ น ร ล ฬ ญ ณ
                    แม่ กบ          ใช้ บ ภ พ ป ฟ

            คำที่สะกดไม่ตรงไม่ตรงตามมาตราจะไม่สะกดคำ แต่ใช้หลักการสังเกตรูปคำและรู้หลักการ
สะกดคำ เช่น คำว่า เหตุ ออกเสียงสะกดในแม่ กด
๔. วิธีการสะกดคำอักษรควบ มีวิธีการสะกดคำ ๒ วิธี คือ
            ๔.๑ การสะกดคำเพื่ออ่าน จะมุ่งที่เสียงของคำด้วยการอ่านอักษรควบก่อนแล้วจึงสะกดคำ เช่น
กราบ ออกเสียง กรฺอ-อา-บอ-กราบ
ครอง ออกเสียง ครฺอ-ออ-งอ-ครอง
            ๔.๒ การสะกดคำแบบเรียงพยัญชนะต้น วิธีนี้ใช้ในการสะกดคำเพื่อเขียน เช่น

                  กรอง            ออกเสียง      กอ-รอ-ออ-งอ-กรอง
                  ปลาย           ออกเสียง      ปอ-ลอ-อา-ยอ-ปลาย


๕. วิธีการสะกดคำอักษรนำ มีวิธีการสะกดคำดังนี้
            ๕.๑ ห นำ ย ร ล ว ให้ออกเสียงพยัญชนะนำก่อน เช่น หน ออกเสียง หนอ หย ออกเสียง
หยอ เป็นต้น แล้วจึงสะกดคำ เช่น หยา สะกดว่า หยอ-อา-หยา หนู สะกดว่า หนอ-อู-หนู ให้เห็นว่าอักษรตัวแรกมีอิทธิพลต่ออักษรตัวที่สอง ส่วนการสะกดคำเพื่อมุ่งเขียนสะกดคำให้ถูกต้องอาจสะกดแบบเรียงพยัญชนะ  เช่น หนู สะกดว่า หอ-นอ-อู-หนู

            ๕.๒ อ นำ ย ให้ออกเสียง อย เป็นเสียง ย แล้วสะกดคำ เช่น อย่า สะกดว่า ยอ-อา-ยา-
ยา-เอก-อย่า (ออกเสียง อย่า เพราะอิทธิพลของเสียง อ ที่เป็นอักษรนำ) หรือ ออ-ยอ-อา-ยา-ไม้เอก-อย่า

หรือจำรูปคำทั้ง ๔ คำ ได้แก่ อย่า อยู่ อย่าง อยาก   

           ๕.๓ การสะกดคำที่อักษรสูงนำอักษรต่อเดี่ยว หรืออักษรกลางนำอักษรต่ำเดี่ยว เช่น สง_
สน_ สม_ ผล_ กล_ ถง_ ตล_ เป็นต้น ให้ออกเสียงนำก่อน เช่น สน ออกเสียง สะหนอ สม ออกเสียง     สะหมอ    แล้วจึงสะกดคำเพื่อออกเสียงให้ถูกต้อง เช่น เสมอ สะกดว่า สะหมอ-เออ-สะ-เหมอ สนอง สะกดว่า สะหนอ-ออ-งอ-สะหนอง หรือจะสะกดคำแบบเรียงตัวพยัญชนะเพื่อมุ่งเขียนคำให้ถูกต้อง เช่น เสมอ  สะกดว่า สอ-มอ-เออ-สะเหมอ สนอง สะกดว่า สอ-นอ-ออ-งอ-สะหนอง


๖. วิธีการสะกดคำที่สระเปลี่ยนรูปและลดรูป

           สระโอะ มีตัวสะกด จะลดรูป

                  ลด            สะกดว่า           ลอ-โอะ-ดอ-ลด

           สระอะ มีตัวสะกด จะเปลี่ยนรูปเป็นไม้หันอากาศ

                  วัน            สะกดว่า           วอ-อะ-นอ-วัน

           สระเอะ มีตัวสะกด จะเปลี่ยนรูปโดยใช้ไม้ไต่คู้

                   เป็ด          สะกดว่า          ปอ-เอะ-ดอ-เป็ด

           สระเออ มีตัวสะกด จะเปลี่ยนรูป

                   เดิน          สะกดว่า          ดอ-เออ-นอ-เดิน

           สระแอะ มีตัวสะกด จะเปลี่ยนรูป

                    แข็ง         สะกดว่า         ขอ-แอะ-งอ-แข็ง

          สระอัว มีตัวสะกด จะเปลี่ยนรูป

                    ลวด         สะกดว่า         ลอ-อัว-ดอ-ลวด

๗. วิธีการสะกดคำที่มีตัวการันต์เป็นคำมาจากภาษาอื่น คำที่มีจากภาษาอื่น เช่น ภาษาบาลี
ภาษาสันสกฤตจะมีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด การสะกดคำที่มีตัวการันต์จะให้อ่านเป็นคำ

แล้วสังเกตรูปคำและรู้กฎเกณฑ์ตามหลักภาษาว่าคำที่มีตัวการันต์ พยัญชนะการันต์จะไม่ออกเสียง































อักษรควบ

อักษรควบหรือตัวควบกล้ำ หมายถึง พยัญชนะที่ควบกับ ร ล ว ประสมสระเดียวกัน ออกเสียง
ควบกล้ำกันเป็นพยางค์เดียว โดยออกเสียงวรรณยุกต์ตามพยัญชนะตัวหน้า
อักษรควบหรือตัวควบกล้ำ แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด ได้แก่

๑. อักษรควบแท้ ได้แก่ อักษรควบที่ออกเสียงพยัญชนะ ๒ ตัว ควบกล้ำกัน ดังนี้
          ๑.๑ พยัญชนะตัวหน้า ก ข ค ต ป พ ควบกับ ร เช่น

                         กร      เช่น      กราบ    กรอง      กรีด    โกรธ    แกร่ง
                         ขร      เช่น      ขรัว      ขรุขระ     ขรึม
                         คร      เช่น      ใคร      ครู    ครบ    คราม   ครัว    ครอง
                         ตร      เช่น      เตรียม    ตรวจ    ตรา    ตรง    ตรอง    ตรึง
                         ปร      เช่น      โปรด    เปรม      ปรุง    ปราย
                         พร      เช่น      พระ      พร้อม    พรุ่ง    พรวน    พราน

          ๑.๒ พยัญชนะตัวหน้า ก ข ค ป ผ พ ควบกับ ล เช่น

                         กล      เช่น      กล้อง    กลืน     กลม      แกล้ง    เกลียว
                         ขล      เช่น      ขลาด    เขลา    โขลง     ขลัง      ขลุ่ย
                         คล      เช่น      คลัง      คล้าย    แคล้ว    คล้อย
                         ปล      เช่น      ปลอบ    ปลด     ปล่อย    ปลื้ม    ปลวก
                         ผล      เช่น      ผลัด       ผลาญ    ผลุบ    เผลอ
                         พล      เช่น      พลาด    พลั้ง     พลาย    พลิก    เพลง


          ๑.๓ พยัญชนะตัวหน้า ก ข ค ควบกับ ว เช่น

                         กว      เช่น       กวัด    ไกว      กวาด     แกว่ง     เกวียน
                         ขว      เช่น       ขวา     แขวง   ไขว่       ขว้าง      ขวิด
                         คว      เช่น       ควัก     ความ   ควาย    ควาน      ควัน

๒. อักษรควบไม่แท้ ได้แก่ อักษรควบที่ออกเสียงพยัญชนะตัวหน้าเพียงตัวเดียวหรือออกเสียง
เป็นอย่างอื่น ดังนี้
           ๒.๑ พยัญชนะตัวหน้า จ ซ ศ ส ควบกับ ร ออกเสียงพยัญชนะตัวหน้า โดยไม่ออกเสียง
ร กล้ำ เช่น

                        จริง            อ่านว่า        จิง
                        ศรัทธา      อ่านว่า         สัด - ทา
                        เศรษฐี      อ่านว่า         เสด - ถี
                        สร้าง         อ่านว่า        ส้าง
                        เสริม         อ่านว่า        เสิม
                        แสร้ง        อ่านว่า        แส้ง

           ๒.๒ พยัญชนะตัวหน้า ทร ออกเสียงเป็น ซ เช่น

                        ทราบ       อ่านว่า       ซาบ
                        ทรุด         อ่านว่า       ซุด
                        ทรง         อ่านว่า       ซง






อักษรนำ

อักษรนำ คือ พยัญชนะ ๒ ตัว ประสมอยู่ในสระเดียวกัน มีวิธีการออกเสียงอักษรนำ ดังนี้

๑. อ่านออกเสียงร่วมกันสนิทเป็นพยางค์เดียว ได้แก่

          ๑.๑ เมื่อ นำ อักษรต่ำ ได้แก่ ง ญ น ม ย ร ล ออกเสียงพยางค์เดียวสูงตามเสียง ห
เช่น หงาย หญ้า หนอน ไหม หยาม หรือ หลาน

          ๑.๒ เมื่อ นำ มี ๔ คำ ได้แก่ อย่า อยู่ อย่าง อยาก

๒. อ่านออกเสียง ๒ พยางค์ พยางค์แรกออกเสียง อะ กึ่งเสียง พยางค์หลังออกเสียงตามสระ
ที่ประสมอยู่และออกเสียงเหมือน ห นำ ดังนี้


           ๒.๑ อักษรสูงนำอักษรต่ำที่เป็นอักษรเดี่ยว เช่น

                                   ขนม              อ่านว่า           ขะ-หนม
                                   ฉลาม            อ่านว่า           ฉะ-หลาม
                                   สมุด              อ่านว่า           สะ-หมุด

          ๒.๒ อักษรกลางนำอักษรต่ำที่เป็นอักษรเดี่ยว เช่น

                                   จมูก              อ่านว่า            ตะ-หมูก
                                   ตลาด            อ่านว่า           ตะ-หลาด
                                   องุ่น               อ่านว่า           อะ-หงุ่น



















คำพ้อง

คำพ้อง หมายถึง คำที่มีรูปหรือเสียงเหมือนกัน แต่จะมีความหมายต่างกัน ซึ่งเวลาอ่าน
ต้องอาศัยการสังเกตเนื้อความของคำที่เกี่ยวข้องคำพ้องมีหลายลักษณะ ได้แก่

๑. คำพ้องรูป คือ คำที่เขียนเหมือนกันแต่ออกเสียงต่างกัน ในการอ่านจึงต้องระมัดระวัง

โดยดูจากบริบทของคำแวดล้อม เพื่อให้ถูกต้องและสื่อความหมายได้ตรงกับเจตนารมณ์ของสาร

          กรี       อ่านว่า        กรี (อ่านแบบควบกล้ำ)       แปลว่า    อวัยวะส่วนหัวของกุ้ง
                     อ่านว่า        กะ-รี                                   แปลว่า    ช้าง  
         แหน    อ่านว่า        แหน (อ่านแบบอักษรนำ)   แปลว่า    พืชน้ำชนิดหนึ่ง
                    อ่านว่า        แหน                                   แปลว่า    หวง เฝ้า
        เพลา   อ่านว่า        เพลา (อ่านแบบควบกล้ำ)  แปลว่า    ตัก ส่วนของรถ เบาลง

                   อ่านว่า        เพ-ลา                                แปลว่า    เวลา

๒. คำพ้องเสียง คือ คำที่เขียนต่างกันแต่ออกเสียงเหมือนกัน เช่น
        กาล กาฬ กานต์

        กาล       อ่านว่า      กาน       แปลว่า     เวลา
        กาฬ      อ่านว่า      กาน       แปลว่า      ดำ
        กานต์    อ่านว่า      กาน       แปลว่า     น่ารัก

        จัน จันทน์ จันทร์

        จัน          อ่านว่า        จัน     แปลว่า      ต้นไม้ชนิดหนึ่ง
        จันทน์    อ่านว่า        จัน     แปลว่า      ไม้หอม

        จันทร์     อ่านว่า        จัน     แปลว่า      ดวงเดือน


๓. คำพ้องทั้งรูปและเสียง คือ คำที่เหมือนกันและอ่านออกเสียงเหมือนกัน แต่จะต่างกัน
ในด้านความหมาย ซึ่งขึ้นอยู่กับใจความของคำในบริบทข้างเคียง

         กัน

        กัน       อ่านว่า        กัน      แปลว่า      โกนให้เสมอกัน
        กัน       อ่านว่า        กัน      แปลว่า       ฉัน, ข้าพเจ้า

        ขัน

       ขัน      อ่านว่า        ขัน        แปลว่า        ทำให้ตึง

       ขัน      อ่านว่า        ขัน        แปลว่า        น่าหัวเราะ